จะติดตั้ง ‘พัดลมยักษ์’ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

เคยสงสัยไหมว่าพัดลมยักษ์แบบนี้ติดตั้งอย่างไร ? แน่นอนว่าต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการติดตั้ง เนื่องจากขนาดความยักษ์ใหญ่และเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่ออาคารขนาดใหญ่โดยเฉพาะ ให้อากาศภายในได้ถ่ายเท หรือ สร้างความเย็นให้กับพื้นที่ในวงกว้างได้เป็นอย่างดี แค่ติดตั้ง 1 ตัว ก็สามารถให้แรงลมได้มากกว่า 1,000 ตารางเมตร แถมยังประหยัดพลังงานอีกด้วย

พัดลมยักษ์ที่ว่านี้มีจะมีวิธีการติดตั้ง ระบบการทำงาน การบำรุงรักษาเป็นอย่างไร แล้วจะคุ้มกว่าการติดตั้งพัดลมขนาดเล็กแบบติดผนังมากน้อยแค่ไหน Materials Room จึงอยากชวนทุกๆ คน ไปทำความรู้จักกับเจ้าพัดลมยักษ์นี้ให้มากขึ้นกัน

ก่อนจะดูวิธีการติดตั้ง เรามาทำความรู้จักกับเจ้าพัดลมยักษ์ให้มากขึ้นกันก่อนดีกว่า

พัดลมยักษ์ หรือ Big Ceiling Fan เป็นพัดลมที่นิยมติดในอาคารขนาดใหญ่และสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คอมมูนิตี้มอล เป็นต้น พัดลมจะให้ระยะลมได้มากกว่า 1,000 ตารางเมตร ช่วยให้อากาศหมุนเวียน ระบายความร้อน ลดกลิ่น ลดความชื้นได้ดี และประหยัดพลังงาน ซึ่งใช้ไฟฟ้าแค่ 0.3-1.5 กิโลวัตต์ เมื่อเทียบกับพัดลมแบบติดผนังที่ใช้ไฟฟ้าถึง 4.48-12 กิโลวัตต์ แต่ให้ระยะลมแค่ 3-5 เมตรเท่านั้น หากต้องการปริมาณแรงลมเท่าๆ กัน จำเป็นต้องใช้พัดลมติดผนังหลายตัว อาจจะส่งผลให้ไม่ประหยัดพลังงาน ยุ่งยากในการบำรุงรักษา และใช้งบประมาณสูง

พัดลมยักษ์มี 2 รูปแบบคือ DC Fan และ AC Fan

DC Fan (Direct Current Motor) พัดลมยักษ์ขนาดเล็ก สร้างกำลังใบพัดด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง น้ำหนัก 97 – 106 กิโลกกรัม ให้ความเร็วลม 3 – 5 เมตรต่อวินาที และความเร็วในการหมุน 60 – 80 รอบต่อนาที บนใบพัดจำนวน 5 ใบ ให้กำลังลมตั้งแต่ 800 – 1,250 ตารางเมตร พัดลมประเภทนี้เหมาะกับใช้ในอาคารขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น คอมมูนิตี้มอล, โรงเรียน, มหาวิทยาลัย และโรงอาหาร เป็นต้น

AC Fan (Alternating current Motor) สร้างกำลังใบพัดด้วยระบบมอเตอร์เกียร์ไฟฟ้ากระแสสลับ น้ำหนัก 136 – 160 กิโลกกรัม ให้ความเร็วลม 3.5 – 4 เมตรต่อวินาที ความเร็วในการหมุน 55 รอบต่อนาที บนใบพัดจำนวน 5-8 ใบ ให้กำลังลมตั้งแต่ 1,000 – 1,760 ตารางเมตร ซึ่งให้กำลังมากกว่าแบบ DC Fan เหมาะกับใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โกดังสินค้า และไลน์ผลิตสินค้า เป็นต้น

ทั้ง DC Fan และ AC Fan มีแนวคิดมาจาก HVLS (Hight Volume Low Speed) ที่เน้นความแรงลมค่อนข้างสูง แต่ใช้ความเร็วในการหมุนใบพัดต่ำก่อนจะปะทะกับพื้นและเกิดการรเปลี่ยนแปลงทิศทางเคลื่อนตัวออกไปรอบทุกทิศทาง 360 องศา ซึ่งถูกควบคุมด้วยระบบ VSD Inverter อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์พัดลมยักษ์ด้วยความถี่ของกระไฟฟ้าให้เป็นตามที่เราต้องการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสเปคของ VSD Inverter แต่ละยี่ห้อด้วย

ใบพัดทำมาจากวัสดุ Aluminum Magnesium Alloy

ใบพัดออกแบบให้มีลักษณะโค้งเว้า และนูน ผ่านวัสดุ Aluminum Magnesium Alloy ซึ่งให้ความแข็งแรงสูงเมื่อเชื่อมกับโลหะผสม  ทำให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อน แถมยังมีน้ำหนักที่เบา แข็งแรง และทนทาน เมื่อใบพัดหมุนจะทำให้เกิดแรงยก ซึ่งเป็นการออกแบบคล้ายคลึงกับใบพัดของเฮลิคอปเตอร์

มีให้เลือกถึง 3 ขนาด ราคาอยู่ที่หลักหมื่น – หลักแสน

พัดลมยักษ์แบบ DC Fan แบ่งออกเป็น 3 ขนาดดังนี้

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.3 เมตร ให้กำลังลม 1,250 ตารางเมตร เหมาะกับการติดตั้งในระยะความสูง 11 เมตร
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.5 เมตร ให้กำลังลม 1,000 ตารางเมตร เหมาะกับการติดตั้งในระยะความสูง 9 เมตร
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 เมตร ให้กำลังลม 800 ตารางเมตร เหมาะกับการติดตั้งในระยะความสูง 6 เมตร

พัดลมยักษ์แบบ AC Fan แบ่งออกเป็น 3 ขนาดดังนี้
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.3 เมตร ให้กำลังลมลม 1,760 ตารางเมตร เหมาะกับการติดตั้งในระยะความสูง 11 เมตร
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.2 เมตร ให้กำลังลมลม 1,600 ตารางเมตร เหมาะกับการติดตั้งในระยะความสูง 9 เมตร
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.5 เมตร ให้กำลังลม 1,000 ตารางเมตร เหมาะกับการติดตั้งในระยะความสูง 6 เมตร

ทั้ง 2 รุ่นนี้ราคาอยู่ตั้งแต่หลักหมื่นปลาย จนถึงหลักแสน ในปัจจุบันนี้พัดลมยักษ์ถูกผลิตขึ้นที่ประเทศจีน และประเทศไทย ซึ่งข้อดีของการมีโรงงานในประเทศไทย คือความสะดวกสบายต่อการเข้ารับบริการในเรื่องต่างๆ

เสริมด้วยพัดลมทำความเย็น Evaporative

ถ้าอยากให้อากาศเย็นขึ้นอีกลองพิจารณา พื้นที่มีการติดตั้งพัดลมยักษ์ร่วมกับ Evaporative ซึ่งเป็นระบบทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำและจ่ายออกผ่านหัวจ่ายลมพัดลงมาสู้ผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถลดอุณหภูมิให้ภายในอาคารได้ถึง 4 – 10 องศาเซลเซียสทีเดียว

ความร้อนที่เกิดกับหลังคาของโรงงานอุตสาหกรรม โกดัง หรืออาคารหลายๆ ที่ มักจะใช้วัสดุเมทัลชีทในการปูหลังคาก็จะหมดไป โดยการพัดลมยักษ์จะหมุนดึงเอาลมร้อนจากด้านบนหลังคาลงมาสู่พื้นด้านล่าง จึงทำให้เกิดความร้อน Evaporative จึงเข้ามาช่วยในการลดอุณหภูมิร่วมกับพัดลมยักษ์ ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าการเสริมด้วยแอร์คอนดิชั่น หรือ ชิลเลอร์ มากถึง 60 % เลยทีเดียว

สำหรับการติดตั้ง Evaporative ตัวเครื่องมีทั้งแบบลมออกด้านข้าง ด้านบน และด้านล่าง (สามารถเลือกได้ตามการดีไซน์ของหน้าตาอาคาร) จากนั้นจึงนำท่อกัลป์วาไนซ์ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม นำมาติดกับช่องลมของตัวเครื่อง ให้อยู่เหนือกว่าพัดลมยักษ์ เพื่อให้พัดลมยักษ์พัดลมเย็นจากด้านบนกระจายลงมาสู่บริเวณพื้นที่การทำงาน หรือ พื้นที่คนใช้งานด้านล่างได้

การติดตั้งพัดลมยักษ์ควรมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบ

พัดลมยักษ์ทั้งสองประเภทจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องโครงสร้างของอาคารเป็นสำคัญ หากเป็นอาคารเก่าควรตรวจสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้าง จากทางวิศวกรเพื่อความถูกต้อง และความปลอดภัย เพราะพัดลมยักษ์จะถูกยึดด้วยตัวสลิงเข้ากับเสาของอาคารเพื่อลดแรงในแนวดิ่ง ถึงแม้ตัวพัดลมจะติดตั้งอยู่บนคาน แต่คานจะไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมด เนื่องจากต้องกระจายน้ำหนักของพัดลมเพื่อให้เกิดความสมดุล และความแข็งแรง  

การติดตั้งจำเป็นต้องใช้ นั่งร้าน รถบูมลิฟท์ หรือรถเอ็กซ์ลิฟท์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด และความสูงของพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามมาตราฐานความปลอดภัยซึ่งกับกับดูแลด้วยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ที่จะคอยเข้ามาตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้ใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยก่อนจะนำพัดลมยักษ์ขึ้นไปติดตั้ง  

บำรุงรักษาทุก 1 ปี

การบำรุงรักษามอเตอร์ประเภท  AC จำเป็นจะต้องถ่ายของเหลวที่อยู่ในเกียร์เฮด ทุกๆ 1 ปี ทั้งนี้ให้ดูเงื่อนไขของผู้จำหน่ายเกียร์เฮด แต่ถ้าเลือกใช้มอเตอร์ประเภท DC มอเตอร์จะถูกออกแบบให้เป็นแบบ Non-Maintenance ที่ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายของเหลว สามารถใช้ได้ในระยะยาวได้ แต่ทุกๆ 3 – 5 ปี ควรตรวจสอบปัญหาทางด้านมอเตอร์ หรือตู้ควบคุมต่างๆ 

ทั้งสองรุ่นนี้ควรทำความสะอาดทุกๆ 1 ปี เนื่องจากพัดลมจะมีจุดยึดต่างๆ ที่เป็นน็อตกันคลาย แต่เมื่อใช้ไปในระยะเวลานานแล้วตัวน็อตอาจจะเสื่อมสภาพลง มีโอกาสทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายได้ซึ่ง การตรวจสอบแบบนี้มีชื่อเรียกว่า การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance (PM)

ไม่แนะนำให้ซื้อพัดลมยักษ์ไปติดตั้งเอง

เพราะการติดตั้งพัดลมยักษ์จำเป็นต้องใช้ความชำนาญสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับน้ำหนัก อุปกรณ์ และเรื่องความปลอดภัย จำเป็นที่ต้องติดตั้งด้วยผู้รับเหมา และวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง เช่น ทำให้พัดลมไม่สมมาตร เสียงดัง ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้อีกความสำคัญหนึ่งคือ การเลือกขนาดของพัดลมยักษ์ และจำนวนที่ใช้ในพื้นที่ ควรปรึกษาผู้ออกแบบอาคาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ผลิต

ขอบคุณที่มาจาก
yushi
https://www.ventilar.co/hvls-fan-th/

More MATERIALS