10 วัสดุรักษ์โลกนวัตกรรมใหม่สู่ฐานข้อมูลวัสดุไทย

Material & Design Innovation Center (MDIC) คือศูนย์รวบรวบวัสดุรักษ์โลกของประเทศไทย เป็นพื้นที่ให้นักออกแบบ นักวิจัย ผู้ผลิต รวมไปถึงผู้ที่สนใจ ได้เข้าถึงวัสดุใหม่ๆ เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ประกอบการ หรือนักออกแบบ จนไปถึงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวัสดุในด้านต่างๆ อีกด้วย  

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางศูนย์ได้จัดกิจกรรม OPENHOUSE ครั้งที่ 2 MATERIAL SUBMISSION & NETWORKING เชิญชวนผู้ประกอบการรายใหม่นำวัสดุรักษ์โลกมาเข้าสู่ฐานข้อมูลเพื่อต่อยอดพัฒนาไอเดียนำไปสู่ธุรกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีงานเสวนา “การเพิ่มมูลค่าวัสดุด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้ตอบโจทย์ตลาดทั้งในและต่างประเทศ” จากแบรนด์คนไทยที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับโลก

ฐานข้อมูล Material จากไทย และทั่วโลก

Material & Design Innovation Center (MDIC) เป็นพื้นที่รวบรวมฐานข้อมูลวัสดุไทย (TCDC Material Database) หนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลวัสดุไทย ซึ่งได้รวบรวมรายละเอียดวัสดุและข้อมูลการติดต่อผู้ประกอบการที่น่าสนใจ มีนวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทักษะภูมิปัญญาของคนไทย รวมไปถึงข้อมูลวัสดุและบริการของผู้ประกอบการในย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพฯ เช่น เจริญรัถ เสือป่า บ้านหม้อ ฯลฯ ที่เหล่านักสร้างสรรค์สามารถสรรหาและเลือกซื้อวัสดุมาทำงานออกแบบ เพื่อเพิ่มโอกาสในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ตลอดจนขยายองค์ความรู้ด้านวัสดุและการออกแบบ โดยสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ สามารถเข้าไปสัมผัสวัสดุตัวจริงได้ที่ Material & Design Innovation Center นอกจากนี้ยังมี Material Connexion Bangkok ที่ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลระดับโลก ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างดีไซน์เนอร์ และผู้ผลิตจากทั่วโลกให้สามารถเลือกสรรตามความต้องการของผู้ประกอบการ หรือดีไซน์เนอร์ 

MATERIAL SUBMISSION & NETWORKING  ครั้งที่ 2

ภายในงาน OPEN HOUSE ครั้งที่ 2 นี้ นอกจากเปิดรับวัสดุใหม่ๆ เข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว ยังได้พบกับวัสดุทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมกับงานเสวนา “การเพิ่มมูลค่าวัสดุด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้ตอบโจทย์ตลาดทั้งในและต่างประเทศ” โดย คุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ แบรนด์ DEESAWAT คุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ แบรนด์ QUALY และคุณศรุตา เกียรติภาคภูมิ แบรนด์ PIN METAL ART ซึ่งทั้งสามคนมีประสบกาณ์ในการนำวัสดุรีไซเคิลมาแปรรูปใหม่ผ่านการดีไซน์ ที่ตอบโจทย์ให้กับต่อผู้บริโภค และโลก นอกจากนี้ภายในงานทั้งสามท่านยังเป็นผู้แนะนำ Start Up รุ่นใหม่ และผู้ประกอบการที่กำลังจะนำวัสดุเข้าสู่ฐานข้อมูล TCDC Material Database โดยครั้งนี้มีมากถึง 10 แบรนด์ด้วยกัน

10 วัสดุไฮไลท์สู่ฐานข้อมูล

ไฮไลท์สำคัญของงานนี้ก็คือ 10 แบรนด์วัสดุรักษ์โลกที่กำลังเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นผู้ประกอบมายาวนานแล้ว และกำลังมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนา ออกแบบ จนนำไปสู่ธุรกิจสร้างสรรค์ การนำเข้าสู่ฐานข้อมูลของ TCDC Material Database จึงเป็นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของวัสดุในประเทศไทย 10 แบรนด์วัสดุที่ได้นำเสนอในงาน OPEN HOUSE ครั้งนี้ ได้แก่

DD Nature Craft

ไม้อัดจากแกนกัญชงมีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี ดูดซับเสียง และแข็งแรงทนทานเหมาะสมกับการเป็น “วัสดุไม้อัดแห่งทดแทน สามารถนำไปทำเป็นพื้น ฝ้าเพดาน ผนัง และอื่นๆ 

กำลังมองหา: ผู้ผลิต งานวิจัย และนักออกแบบที่สนใจในวัสดุไม้อัด

Bangkokpack

Craft Paper Carton การนำวัสดุของเหลือทางการเกษตรมาผสานเข้ากับลอนลูกฟูก เพื่อให้เกิดเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย และสามารถผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรม

กำลังมองหา: ผู้ผลิต งานวิจัย และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

Rubber Idea

Recycle Rubber ที่มีสารประกอบของวัสดุรีไซเคิลถึง 70% รักษ์โลก แต่ยังคงความยืดหยุ่น และความแข็งแรงทนทานได้เกือบเท่ากับยางบริสุทธิ์ นำมาผลิตเป็นกระเป๋า ที่รองโน้ตบุคเพื่อกันกระแทก

กำลังมองหา: งานวิจัย และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

วี แอนด์ พี เอ็กซแพนด์ เมททัล

ตะแกรงเหล็กฉีกสำหรับงานก่อสร้าง และสำหรับงานตกแต่งที่ทำจากเหล็ก (Expanded metal Mesh) สแตนเลส (Stainless Expanded Metal) หรืออลูมิเนียม (Aluminium Expanded) สำหรับติดตั้งภายนอก และภายในอาคารได้

กำลังมองหา: ผู้ประกอบชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์เหล็กไอเดียหลากสไตล์

Mush Composites

MUSHPAK วัสดุคอมโพสิตธรรมชาติที่ได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและส่วนรากของเห็ด (ไมซีเลียม) ผลิตจากเทคโนโลยีชีวภาพ ขึ้นทรงได้หลากหลาย แข็งแรง น้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทกได้ดีเยี่ยม มีความสามารถในการทนไฟได้ เหมาะสำหรับทำบรรจุภัณฑ์กันกระแทก และงานตกแต่งภายใน

กำลังมองหา: ผู้ผลิต และงานวิจัย

ไทยวาโก้

ผลิตภัณฑ์สำหรับสุภาพสตรี Bra Cup ที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม 10% เพื่อลดการใช้โพลียูริเทน และวัสดุ “ผ้าฉาบ” ที่ผลิตจาก Recycle PET ซึ่งให้คุณสมบัติเย็นสบายเมื่อสวมใส่ในสไตล์ Cool Cup, Cool the World ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทำให้สวยใส่สบาย แถมยังรักษ์โลกกว่าวัสดุแบบเก่าๆ

กำลังมองหา: งานวิจัย และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

Eco Mat

Lightweight Concrete Block คอนกรีตน้ำหนักเบาที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลที่ไม่ใช้การเผา หรืออบไอน้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมอุณหภูมิ ป้องกันไฟ และน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการขนส่ง จึงเป็นวัสดุก่อสร้างทางเลือกที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง

กำลังมองหา: งานวิจัย นักออกแบบ และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

กำลังมองหา: งานวิจัย และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

Loqa

อิฐก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์เพื่อโลก (Sustainable Building Material & Furniture) บนพื้นฐานแนวคิด Circular Design ผลิตจากวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมต่างๆ มากถึง 80-90% เมื่อต้องการรื้อถอน หรือไม่ได้ใช้งานแล้วยังสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อสร้างเป็นวัสดุอื่นได้

กำลังมองหา: นักออกแบบ และผู้จัดจำหน่าย

Glisten Design

GLISTEN MATERIAL III วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมยานยนต์นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์งานคราฟต์ที่เป็นได้ทั้งกระเป๋าสะพาย กระเป๋าสตางค์ และงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีความสวยงามทั้งด้านการออกแบบและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

กำลังมองหา: ผู้ผลิต นักออกแบบ และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

PEEL Lab K.K.

ผู้ผลิตจากแดนปลาดิบอย่างประเทศญี่ปุ่นได้นำ Pineapple Leather นวัตกรรมหนังเทียมจากพืช (Plant-based leather) คุณภาพสูง นำมาออกแบบเป็นประเป๋าให้หลากสไตล์ ซึ่งช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับเศษอาหารเหลือทิ้ง และการทารุณสัตว์

กำลังมองหา: ผู้ผลิต นักออกแบบ และวัสดุอื่นเพื่อทำงานร่วมกัน

เครือข่ายวัสดุเพื่อพัฒนา ธุรกิจ ดีไซน์ ให้เข้าถึงทุกคน

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์วัสดุเป็นของตัวเอง แต่ยังมีข้อจำกัดทางด้านการออกแบบ ธุรกิจ หรืออื่นๆ ก็เข้าไปปรึกษาได้ที่  Material & Design Innovation Center หรือหากวัสดุมีนวัตกรรมที่ใหม่ และมีกระบวนการผลิตวัสดุที่รักษาสิ่งแวดล้อม ก็มีสิทธิ์เข้าสู่ฐานข้อมูลได้อีกด้วย หากใครสนใจสามารถเข้าไปที่ TCDC Material & Design Innovation Center (MDIC)  บริเวณชั้น 2 ได้ทุกวัน (หยุดวันจันทร์)

More MATERIALS

Discover more from Materials Room

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading